บทเรียนออนไลน์ เรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวัน โดย ครูวีระวัฒน์ บัวคำ
แบบทดสอบประเมินผลอยู่ด้านล่าง เมื่อผ่านเกณฑ์สามารถพิมพ์เกียรติบัตรทางอีเมล์
กฎหมายอาญา
คือ กฎหมายที่ว่าด้วยความผิดและโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิด ซึ่งถูกรวบรวมไว้เป็น “ประมวลกฎหมายอาญา กฎหมายลักษณะทางอาญา ร.ศ.127” คือ ประมวลกฎหมายฉบับแรกของไทย
หลักเกณฑ์สำคัญของกฎหมายอาญา
1. เป็นกฎหมายมหาชน
2. กฎหมายอาญา บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร อย่างชัดเจน
3. กฎหมายอาญาตีความโดยเคร่งครัด และสันนิฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาไม่มีความผิด
4. กฎหมายอาญา ไม่มีผลย้อนกลับ (เพิ่มโทษไม่ได้ แต่ย้อนหลังเป็นผลดีได้)
5. ในกรณีเป็นที่สงสัยต้องตีความให้เป็นผลดีแก่จำเลย
โทษทางกฎหมายอาญา (สภาพบังคับ)
โทษทางอาญา เรียงจากเบาไปหนัก แบ่งออกเป็น 5 สถานคือ
1. ริบทรัพย์สิน (เบาสุด) คือ ริบของกลางในคดี เช่น ปืนเถื่อน ยาบ้า ยาไอซ์ เฮโรอีน
2. ปรับ คือ จ่ายเงินตามจำนวนที่กำหนดไว้ ต้องจ่ายภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันพิพากษา
3. กักขัง คือ นำตัวไปขังในสถานที่กักขัง ที่ไม่ใช่เรือนจำ เช่น นำไปขังไว้ที่สถานีตำรวจ
4. จำคุก คือ นำตัวไปขังไว้ที่เรือนจำ
5. ประหารชีวิต (สูงสุด) คือ ใช้ยาฉีดสารพิษเข้าสู่ร่างกายนักโทษ (ปัจจุบัน)
ลำดับประเภทความผิดทางอาญา
1. ความผิดที่ยอมความไม่ได้ (ความผิดต่อแผ่นดิน)
2. ความผิดที่ยอมความได้ (ความผิดต่อตัวบุคคล)
3. ความผิดลหุโทษ
องค์ประกอบของการกระทำผิดอาญา
การกระทำ | ผลลัพธ์การกระทำ | ผลลัพธ์ทางกฎหมาย |
1. การกระทำผิดโดยเจตนา | คือ (ตั้งใจทำ + รู้ว่าทำไปแล้วจะเกิดผลอย่างไร)
เช่น นายดำใช้ปืนยิงนายแดงจนถึงแก่ความตาย โดยนายดำรู้ตัวว่ายิงนายแดงและมีความประสงค์ให้นายแดงตาย นายดำมีความผิดฐานฆ่านายแดงตายโดยเจตนา |
– ไม่เกิดผลตามที่คิดไว้
(พยายามกระทำความผิด) – เกิดผลตามที่คิดไว้ (เป็นกระทำความผิด) |
2. การกระทำผิดโดยไม่เจตนา | คือ (รู้ว่าทำอะไร แต่ไม่คิดว่าผลที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างนี้)
เช่น นาย ก ทำปืนลั่นถูกนาย ข จงถึงแก่ความตาย แม้ว่า นาย ก ไม่ได้เจตนาทำร้ายนาย ข แต่นาย ก ก็มีความผิดฐานฆ่านาย ข ตายโดยไม่เจตนา |
– เกิดผลที่ไม่ได้คิดไว้
(มีความผิด) |
3. การกระทำผิดโดยประมาท | คือ (ไม่ได้เจตนา + ทำโดยประมาท + ขาดความรอบคอบ)
เช่น นาย ก ขับรถยนต์ด้วยความเร็วสูง เป็นเหตุให้รถไปชนนายขาว ซึ่งเดินอยู่ข้างถนนถึงแก่ความตาย นาย ก มีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย นาย ก ไม่มีมีเจตนาชนนายขาว แต่นาย ก ขับรถโดยปราศจากความระมัดระวัง จนเป็นเหตุให้ชนนายขาวถึงแก่ความตาย |
– เกิดผลโดยประมาท
(ความผิดฐานประมาท) *ผู้เสียหายสามารถฟ้องเพื่อเรียกค่าเสียหายจากการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้* |
ขั้นตอนการกระทำผิดทางอาญา (โดยเจตนา) มี 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. คิด —- > ไม่มีความผิด
2. ตกลงใจกระทำ —- > ไม่มีความผิด
3. ตระเตรียม —- > ไม่มีความผิด แต่ถ้าเตรียมวางเพลิง/เตรียมกบฏ/ลอบปลงพระชนม์ ผิดกฎหมาย
4. พยายามกระทำผิด —- > มีความผิด
5. กระทำความผิดสำเร็จ —- > มีความผิด
เหตุยกเว้นความผิด (ไม่มีความผิด) เช่น กระทำเพื่อการป้องกันตัว, กระทำตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่โดยหน้าที่
เหตุยกเว้นโทษ (มีความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ) เช่น การกระทำผิดต่อกันของ สามี-ภรรยา (บางกรณีเท่านั้น) เช่น ยักยอก บุกรุก หรือทำให้เสียทรัพย์
ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย
1. ความผิดต่อชีวิต
1. เจตนาฆ่า | 2. ไม่เจตนาฆ่า | 3. ประมาท |
โทษประหารชีวิต (*ถ้าเป็นเหตุฉกรรจ์)
โทษจำคุกตลอดชีวิต โทษจำคุก (15-20 ปี) |
โทษจำคุก (3-15 ปี) | โทษจำคุก (10 ปี)
(จะมีความผิดต่อเมื่อกฎหมายมาตรานั้นระบุว่ากากระทำนั้นโดยประมาทมีความผิด) |
ปรับ ไม่เกิน 20,000 บาท | ปรับ – | ปรับ ไม่เกิน 20,000 บาท |
2. ความผิดฐานทำให้แท้งลูก
1. หญิงตั้งครรภ์ ทำให้ตนเองแท้งลูก หรือยอมให้คนอื่นทำ | 2. ผู้ทำแท้งทำให้หญิงแท้งลูก โดยหญิงยินยอม | 3. ผู้ทำแท้งทำให้หญิงแท้งลูก โดยหญิงไม่ยินยอม |
โทษจำคุก (ไม่เกิน 3 ปี) | โทษจำคุก (ไม่เกิน 5 ปี) | โทษจำคุก (ไม่เกิน 7 ปี) |
ปรับ ไม่เกิน 10,000 บาท | ปรับ ไม่เกิน 10,000 บาท | ปรับ ไม่เกิน 14,000 บาท |
***เหตุยกเว้นความผิด เป็นการกระทำของแพทย์ที่ฝ่ายหญิงยินยอม เนื่องจาก*** 1. ความจำเป็นเนื่องจากสุขภาพของหญิงนั้น 2. หญิงมีครรภ์จากการกระทำผิดทางอาญา |
3. ความผิดต่อร่างกาย (ทำร้ายจนเกิดอันตรายต่อร่างกายและจิตใจ)
1. เกิดอันตรายต่อร่างกายและจิตใจ | 2. เกิดอันตรายสาหัสต่อร่างกายและจิตใจ | |
โทษจำคุก (ไม่เกิน 2 ปี) | โทษจำคัก (6 เดือน – 10 ปี) | |
ปรับไม่เกิน 4,000 บาท | ปรับ – | |
*ถ้าเป็นเหตุฉกรรจ์
จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ |
*ถ้าเป็นเหตุฉกรรจ์
จำคุกไม่เกิน 2 เดือน-10 ปี |
|
เหตุฉกรรจ์ คือ เหตุความผิดที่มีโทษหนักขึ้น เช่น
1. ฆ่าบุพการี |
4. ความผิดฐานทอดทิ้ง (เด็ก คนป่วย คนชรา)
ผู้มีหน้าที่ดูแลตามกฎหมาย ทอดทิ้งผู้ซึ่งดูแลพึ่งตนเองมิได้/เด็กไม่เกิน 9 ขวบ มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับ 6,000 บาท
ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
คือ ความผิดที่กระทำต่อทรัพย์ของผู้อื่น ซึ่งมีด้วยกันหลายประเภท
ประเภท | ความหมาย | ความผิด/โทษ |
ลักทรัพย์ | คือ ขโมยของผู้อื่น โดยเจตนาทุจริต | จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6,000 บาท |
วิ่งราวทรัพย์ | คือ ฉกฉวยเอาซึ่งหน้าเจ้าของทรัพย์ | จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 10,000 บาท |
ชิงทรัพย์ | คือ ใช้กำลังทำร้าย/ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังเพื่อให้ได้ทรัพย์ไป | จำคุกไม่เกิน 5-10 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท |
การปล้นทรัพย์ | คือ ร่วมกันขโมยตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป | จำคุกไม่เกิน 10-15 ปี ปรับไม่เกิน 30,000 บาท |
ยักยอกทรัพย์ | คือ การเบียดบังทรัพย์ของผู้อื่นเอาทรัพย์ไปเป็นของตนโดยทุจริต | จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6,000 บาท |
กรรโชกทรัพย์ | คือ การข่มขู่ให้ผู้อื่นให้นำทรัพย์มาให้แก่ตน ถ้าไม่นำมาจะทำร้ายร่างกาย | จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 10,000 บาท |
รีดเอาทรัพย์ | คือ ข่มขู่เอาทรัพย์มาให้ มิฉะนั้นจะเปิดเผยความลับ | จำคุกไม่เกิน 1-10 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท |
ฉ้อโกงทรัพย์ | คือ ลอกลวงให้หลงเชื่อ เช่น พูดหลอกและทำให้เชื่อ | จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6,000 บาท |
โกงเจ้าหนี้ | คือ ขโมยไปหรือทำให้เสียประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ที่ได้จำนำไว้แก่ผู้อื่น | จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4,000 บาท |
รับของโจร | คือ ได้ทรัพย์นั้นมาจากการกระทำผิด โดยทรัพย์ยังไม่ถูกแปรสภาพ | จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 10,000 บาท |
ทำให้เสียทรัพย์ | คือ ทำลายทรัพย์ให้เสียหายเสื่อมค่า | จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6,000 บาท |
บุกรุก | คือ การเข้าไปกระทำการใดๆ/รบกวนอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น | จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2,000 บาท |
ลำดับโทษของผู้กระทำผิด
ตัวการ | หมายถึง ผู้ลงมือกระทำความผิดนั้นๆ รับโทษเต็มๆ |
ผู้ใช้ | หมายถึง ผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิด ถ้าทำสำเร็จจะได้รับโทษเท่ากับตัวการ แต่ถ้าไม่สำเร็จรับโทษ 1 ใน 3 ของตัวการ (ผู้ยุงยง ก็ถือว่าเป็นผู้ใช้) |
ผู้สนับสนุน | หมายถึง ผู้ที่ให้ความช่วยเหลือ/ให้ความสะดวกแก่ผู้กระทำความผิด ต้องได้รับโทษ 2 ใน 3 ของตัวการ |
อายุกับการรับโทษ
อายุไม่เกิน 10 ปี | อายุ 10-15 ปี | อายุ 15-18 ปี | อายุ 18 ปีขึ้นไป |
ไม่ต้องรับโทษ | ใช้วิธีสำหรับเด็ก | อาจลดโทษกึ่งหนึ่ง | รับโทษปกติ |
6. กฎหมายอื่นที่น่ารู้
1. กฎหมายเกี่ยวกับการรับราชการทหาร
1. การลงบัญชีทหารกองเกิน |
|
||||
2. การรับหมายเรียกผู้ลงบัญชีเป็นทหารกองเกิน |
|
||||
3. การตรวจคัดเลือกทหาร |
|
||||
4. บุคคลที่ยกเว้นไม่ต้องเข้ารับราชการทหารได้แก่ พระภิกษุที่มีสมณศักดิ์หรือมีเปรียญ ข้าราชการครู คนพิการทุพพลภาพ |
2. กฎหมายภาษีอากร
คือ เงินที่รัฐบาลเรียกเก็บจากประชาชนตามกฎหมายเพื่อเป็นรายได้ของรัฐ จ่ายในการบริหารประเทศ กรมที่มีหน้าที่จัดเก็บภาษี 3 กรมหลักอยู่ในสังกัดกระทรวงการคลัง ประกอบด้วย
1. กรมสรรพากร
2. กรมศุลกากร
3. กรมสรรพสามิต
ภาษีอากรที่รัฐจัดเก็บมีทั้งภาษีทางตรง และภาษีทางอ้อม แยกออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. ภาษีเงินได้และภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นภาษีที่เก็บจากเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้นิติบุคคล ภาษีการค้า อากรแสตมป์
2. ภาษีสรรพสามิต เป็นภาษีที่เก็บจากสิ่งประดิษฐ์และผลิตขึ้นในประเทศ
3. ภาษีศุลกากร เป็นภาษีที่เก็บจากสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ และส่งออกไปต่างประเทศ
ลักษณะการเก็บภาษี แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
1. บุคคลธรรมดา มีหน้าที่เสียภาษีอากรเมื่อมีเงินได้ 150,001 บาทต่อปีขึ้นไป โดยต้องยื่นเสียภาษีภายในวันที่ 31 มีนาคมของปีถัดไป
2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นภาษีที่จัดเก็บจากนิติบุคคล โดยจะเก็บจากกำไรสุทธิที่ผู้เสียภาษีได้รับในอัตราร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิ
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เป็นภาษีที่เก็บจากการขายสินค้าและบริการ โดยปัจจุบันผู้ผลิตจะผลักภาระนี้ให้แก่ผู้ซื้อจ่ายเองในอัตราร้อยละ 7 %
ประโยชน์ของภาษีอากร คือ
1. ก่อให้เกิดการใช้งานเต็มที่
2. เพื่อให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมที่สุด
3. เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
4. เพื่อให้การกระจายรายได้และความมั่งคั่งเป็นธรรม
5. เพื่อเป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจ
3. กฎหมายกับอายุ
7 ปี | ทำบัตรประจำตัว |
10 ปี | กระทำผิดกฎหมายไม่ต้องรับโทษ |
15 ปี | ทำพินัยกรรมได้ / ทำใบอนุญาตขับขี่ |
17 ปี | หมั้น สมรส (ต้องได้รับคำยินยอมจากผู้ปกครอง) / ชายไทยทำใบ |
18 ปี | เลือกตั้งได้ / ทำใบอนุญาตขับขี่ |
20 ปี | บรรลุนิติภาวะ พ้นสภาพจากการเป็นผู้เยาว์ |
21 ปี | ชายไทยต้องเกณฑ์ทหาร |
25 ปี | สามารถรับบุตรบุญธรรม |
70 ปี | สามารถใช้บัตรประจำตัวประชาชนได้ โดยไม่ต้องไป |